14 กรกฎาคม 2552

กุ้งก้ามกราม

กุ้งก้ามกราม กุ้งน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrobrachium rosenbergii อยู่ในวงศ์ Palaemonidae มีเปลือกสีเขียวอมฟ้าหรือม่วง ก้ามยาวมีม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีปุ่มตะปุ่มตะป่ำ โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง แทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด อาหารได้แก่ ไส้เดือน ตัวอ่อนของลูกน้ำ ลูกไร ลูกปลาขนาดเล็ก ซากของสัตว์ต่างๆ และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง พบชุกชุมทำให้จับง่าย โดยเฉพาะในฤดูหนาว ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่างๆ แถบภาคกลางของประเทศไทย เช่น สุพรรณบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา และต่างประเทศด้วย เช่น ที่ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
กุ้งก้ามกราม มีความยาวประมาณ 13 ซ.ม. พบใหญ่สุดถึง 1 ฟุต น้ำหนักเป็นกิโล เป็นกุ้งที่ถูกใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ เผา หรือ ทอด เป็นต้น เพราะเนื้อมีมาก เนื้อแน่น มัน อร่อย ทำให้มีราคาที่ขายสูง ปัจจุบัน ยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงามด้วย
กุ้งก้ามกราม มีชื่อเรียกที่ต่างออกไปมากมาย เช่น กุ้งแม่น้ำ กุ้งหลวง ขณะที่กุ้งตัวเมียที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่า เรียก กุ้งนาง เป็นต้น

ตลาดกุ้งออสเตรเลีย

ตลาดกุ้งออสเตรเลีย : โอกาสและอุปสรรคที่ผู้ส่งออกกุ้งไทยต้องฟันฝ่า



รัฐบาลออสเตรเลียได้เผยแพร่รายงาน Biosecurity Australia Policy Memorandum 2006/35 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2549 เรื่องการประเมินความเสี่ยงในกุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้งเพื่อให้หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการนำเข้ากุ้งที่ติดโรค 5 ชนิดคือโรคจุดขาว โรคหัวเหลือง โรคแคระแกร็น โรคทอร่าซินโดรมและโรคเอ็นเอชพี นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ การส่งกุ้งและผลิตภัณฑ์ไปยังออสเตรเลียต้องมาจากพื้นที่เลี้ยงปลอดโรค ต้องเป็นกุ้งที่เอาหัว/เปลือกออก สินค้าประเภทสร้างมูลค่าเพิ่มต้องผ่านกระบวนการแปรรูปที่อุณหภูมิสูง ส่วนกุ้งต้มในโรงงานต้องอยู่ภายใต้การควบคุม ในขณะที่กุ้งต้มที่ปากบ่อต้องมีใบรับรองจากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการแจ้งเวียนให้ประเทศคู่ค้าได้พิจารณา เสนอข้อคิดเห็น หรือข้อโต้แย้ง และต้องดำเนินการต่อเรื่องดังกล่าวภายใน 90 วันหรือภายในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550
อย่างไรก็ตาม ร่างประกาศนี้ทำให้เกิดเป็นข่าวว่าทางออสเตรเลียประกาศห้ามนำเข้ากุ้งโดยอ้างว่าเพื่อเป็นมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพที่จะป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคกุ้งจากกุ้งที่นำเข้า และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2549 ซึ่งทำให้เกิดความสับสนต่อเกษตรกรและผู้ค้ากุ้งในประเทศไทยเป็นอย่างมากว่าทางออสเตรเลียห้ามนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์แล้ว ทั้งที่จริงแล้วการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ยังคงเป็นไปตามปกติ แม้ว่าในขณะนี้กฎระเบียบดังกล่าวเป็นเพียงร่างข้อเสนอเท่านั้น แต่ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าทางออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์การนำเข้าเพิ่มเติม ทำให้คาดการณ์ได้ว่าการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ของไทยไปยังตลาดออสเตรเลียจะประสบปัญหาจากข้อกีดกันทางด้านสุขอนามัยในอนาคต ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการบริโภคอาหารทะเลทั่วประเทศออสเตรเลียลดลงประมาณร้อยละ 20 ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม 2549 เนื่องจากผู้บริโภควิตกเกี่ยวกับข่าวว่ากุ้งที่นำเข้าเพื่อใช้เป็นเหยื่อตกปลานั้นมีไวรัส ดังนั้นเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมการจับกุ้งจากธรรมชาติและการเพาะเลี้ยงกุ้งของออสเตรเลีย ทำให้ออสเตรเลียต้องเข้มงวดในการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ แม้ว่าในปัจจุบันตลาดออสเตรเลียจะไม่ใช่ตลาดส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์หลักของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกเพียงร้อยละ 2-3 ของมูลค่าการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเท่านั้น แต่ออสเตรเลียก็นับว่าเป็นตลาดที่ไทยมุ่งหวังจะขยายการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งทั้งระบบในประเทศไทยเมื่อเกิดปัญหากับตลาดส่งออกหลัก การส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ไปยังออสเตรเลียต้องเผชิญปัญหาการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนาม สิงคโปร์ นิวคาลิโดเนีย และพม่า รวมทั้งออสเตรเลียยังมีการขยายอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้ง ทำให้ในอนาคตออสเตรเลียมีแนวโน้มลดการพึ่งพิงการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ และหันมาเป็นประเทศผู้ส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ โดยตลาดส่งออกหลักของออสเตรเลียในปัจจุบัน คือ ญี่ปุ่น จีน สเปน และฮ่องกง นอกจากนี้ทางรัฐบาลออสเตรเลียยังได้รับการกดดันจากผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศให้ออกมาตรการเข้มงวดในการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากในปัจจุบันผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศประสบปัญหาในการแข่งขันในด้านราคากับกุ้งและผลิตภัณฑ์ราคาถูกที่นำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นอนาคตของการขยายตลาดกุ้งและผลิตภัณฑ์ในออสเตรเลียสำหรับผู้ส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ของไทยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมีหลากหลายอุปสรรคที่ต้องฝ่าฟัน


ที่มา : มองเศรษฐกิจ

ฉบับที่ 1909
วันที่ 14 ธันวาคม 2549
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

กุ้งกุลาดำ



อนุกรมวิธานของกุ้งกุลาดำ (Farfanate และ Kensley, 1997)

ชื่อไทย : กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลา กุ้งกะลา กุ้งเสือดำ กุ้งเสือ กุ้งลาย
ชื่อภาษาอังกฤษ : Giant tiger prawn
ชื่อวิทยาศาสตร์ :enaeus monodon fabricius, 1798

ลักษณะทั่วไป
เป็นกุ้งทะเล ลำตัวสีแดงอมน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม มีลายพาดขวางที่หลังประมาณ 9 ลายและสีออกน้ำตาล เข้มข้างแถบสีขาว ด้านบนของกรีมีฟัน 7-8 ซี่ ด้านล่างมี 3 ซี่ สันกรียาวเกือบถึงคาราเปสมีสันตับ(hepatic crest)ยาวตรงขนานไปกับลำตัว หนวดยาวไม่มีลายชัดเจน ขาเดินมีสีแดงปนดำ ขาว่ายน้ำมีสีน้ำตาลปนน้ำเงิน โคนสีขาว ขาเดินคู่ที่ห้าไม่มี exopod ขนาดความยาวประมาณ18-25 ซ.ม.

การสืบพันธุ์
กุ้งมีอวัยวะเพศภายนอกมองเห็นได้ชัดเจน และสามารถใช้ลักษณะความแตกต่างของ อวัยวะเพศในการจำแนกชนิดได้ อวัยวะเพศผู้เรียกว่า พีแตสม่า (petasma) เกิดจากการเปลี่ยนแปลง แขนงอันในของขาว่ายน้ำคู่แรกทั้ง 2 ข้างเชื่อมติดกันเพื่อทำหน้าที่เป็นอวัยวะเพศผู้ ส่วนอวัยวะเพศเมีย เรียกว่า ทีไลคัม (thelycum) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงผนังด้านท้อง (sternal plate) ของรยางค์ส่วนอก ปล้องที่ 7 และ 8 หรือตรงกับขาเดินคู่ที่ 4-5 พัฒนามาเป็นถุงสำหรับรับน้ำเชื้อ
วัยเจริญพันธุ์ (maturation) หมายถึง รังไข่หรืออวัยวะที่ใช้ในการผสมพันธุ์พัฒนาเต็มที่ ในการผลิตไข่ (egg) หรือน้ำเชื้อ (sperm) พร้อมที่จะผสมพันธุ์โดยใช้อวัยวะภายนอก เมื่อลอกคราบ เพื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อวัยวะเพศทั้ง 2 เพศ เจริญดีแล้วการผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ตัวเมีย ลอกคราบใหม่ ซึ่งแหล่งที่มาของพ่อแม่พันธุ์ส่วนใหญ่จะได้มาจากการจับจากทะเลหรือบ่อเลี้ยง

การวางไข่ของกุ้งกุลาดำ (ในบ่อเพาะพันธุ์)
แม่กุ้งกุลาดำที่มีไข่แก่จะถูกแยกออกมาปล่อยลงในถังวางไข่ขนาด 200 ลิตร ถังละ 1 ตัว ก่อนปล่อยกุ้งลงถังเพื่อป้องกันเชื้อโรคจะติดมากับแม่กุ้งอาจจะนำแม่กุ้งไปแช่ใน ฟอร์มาลีน เข้มข้น 150 ppm. ประมาณ 10-15 นาที หรือแช่ยาปฏิชีวนะ น้ำทะเลในถังวางไข่เป็นน้ำที่มีความเค็ม 30 ppt. ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนมาแล้ว ภายในถังมีอากาศเป่าอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้น้ำเกิดการหมุนเวียน เป็นการให้ออกซิเจนในเวลากลางคืน ขณะที่กุ้งวางไข่มันจะว่ายไปรอบๆ ถังขณะเดียวกันก็จะปล่อยน้ำเชื้อ ออกมาผสมกับไข่ในน้ำ เป็นการผสมกันภายนอกการวางไข่และปล่อยน้ำเชื้อตัวผู้จะใช้เวลา 2-7 นาที ในตอนเช้าจะทำการตรวจดูว่ากุ้งวางไข่หรือไม่ โดยสังเกตจากคราบไขมันที่เกาะอยู่ตามขอบถังวางไข่ มีลักษณะสีชมพูหรือสีส้ม เมื่อกุ้งวางไข่แล้วนำกุ้งขึ้นจากถังวางไข่แล้วปล่อยคืนกลับบ่อเลี้ยง โดยปกต ิแม่กุ้งจะวางไข่ประมาณ 300,000 ฟอง

การฟักไข่ของกุ้งกุลาดำ
ก่อนที่จะรวบรวมไข่กุ้งไปฟักในถังฟักไข่ ควรตรวจสอบดูว่าไข่กุ้งได้รับการผสมพันธุ์มากน้อย เพียงใด จากนั้นนำไข่ที่ได้ไปล้างน้ำเพื่อกำจัดคราบไขมันออก แล้วย้ายไปใส่ในถังฟัก ลูกกุ้งจะฟักออก เป็นตัวหลังจากวางไข่ได้ 15-18 ชั่วโมงซึ่งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ

วงจรชีวิต
ไข่ จะฟักเป็นตัวอ่อนระยะนอเพียส ภายใน 12 ชม. หลังได้รับการปฏิสนธิระยะนอเพียส (Nauplius) มีขนาด 0.3-0.33 มม. ยังไม่กินอาหาร ดำรงชีวิตแบบแพลงก์ตอน ประมาณ 2 วัน ระยะนี้จะมีการลอกคราบ 6 ครั้งสิ้นสุดระยะนอเพลียสจะมีขนาดประมาณ 0.6 มม. จะเจริญเข้าสู่ระยะ โปรโตซูเอีย (Protozuea)มีขนาด 1-3.3 มม.กินแพลงตอนพืชเป็นอาหาร ลอกคราบ 3 ครั้ง ใช้เวลา 3-4 วัน จะเจริญเข้าสู่ระยะไมสีส(Mysis) ขนาดประมาณ 3.3-5 ซม. กินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร ใช้เวลา 3-4 วันจะเข้าสู่ระยะโพสลาวา (Postlarva) หรือที่นิยมเรียกว่า P1 ระยะนี้จะเรียกตามจำนวนวันที่กุ้งเติบโต เช่น P10 คือกุ้งในระยะนี้อายุ 10 วัน จนวันที่ 20 กุ้งจะมีขนาด 2-3 ซม. จะเข้าสู่ระยะจูเวนไนล์ (Juvenile) มีลักษณะต่างๆ สมบูรณ์เหมือนตัวเต็มวัย แต่ไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ จนเข้าสู่ระยะเจริญพันธุ์ และใช้เวลา 10 เดือนจะเป็นตัวเต็มวัย
ถิ่นอาศัย
พบได้ทั่วไปในทวีเอเซีย ในประเทศไทยพบแพร่กระจายทั่วไป พบมากบริเวณเกาะช้างบริเวณนอกฝั่งชุมพร ถึงนครศรีธรรมราช และทางฝั่งอันดามันจะพบมากที่ภูเก็ต ระนอง ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีดินเป็นทรายปนโคลน หรือทรายปนเลือกหอยและหินประการัง สามาถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี อดทน โตเร็ว

กุ้งขาว


กุ้งขาว
กุ้งขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Litopenaeus vannamei) มีลำตัวขาวใส ขามีสีขาว หางสีแดง โดยเฉพาะบริเวณปลายหางจะมีสีแดงเข้ม กรีจะมีแนวตรงปลายงุ้มลงเล็กน้อย เมื่อโตขึ้นฟันกรีด้านบนจะมี 8 ฟัน และด้านล่าง 2 ฟัน ความยาวของกรี จะยาวกว่าลูกตาไม่มาก ที่สังเกตเห็นเด่นชัดที่สุดคือลำไส้ของกุ้งชนิดนี้จะโตเห็นได้ชัด และตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้

การค้นพบ
กุ้งขาวลิโทพีเนียส แวนนาไม หรือที่เรียกกันว่า "กุ้งขาว หรือ กุ้งแวนนาไม" นั้นค้นพบโดย Boone ในปี ค.ศ. 1931 มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Litopenaeus Vannamei (Boone,1931) ส่วนชื่อทาง F.A.O. รับรองเป็นภาษาอังกฤษ Whiteleg shrimp ชื่อภาษาฝรั่งเศส Crevette pattes blanches ชื่อภาษาสเปน Camaron patiblance ส่วนชื่อสามัญและชื่อทางการค้ามีเรียกกันหลายชื่อตามแหล่งที่พบ หรือ ตามลักษณะเด่นทางกายภาพที่ปรากฏให้เห็น เป็นภาษาต่าง ๆ ได้แก่ ชื่อภาษาอเมริกัน West coast white shrimp หรือ Whiteleg shrimp ชื่อภาษาเม็กซิกัน Camaron blanco ชื่อภาษาโคลัมเบีย Camaron caf? หรือ Camaron blanco ชื่อภาษาเปรู Camoron blanco หรือ Langostino ปัจจุบันการผลิตกุ้งในโลกได้มาจาก 6 สายพันธุ์หลัก คือกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (65%) กุ้งขาวลิโทพีเนียสแวนนาไม Litopenaeus vannamei (14%) กุ้งแซบ๊วย Penaeus indicus (1%) กุ้งน้ำตาลออสเตรเลีย Metapenaeis endeavovre (2%) ที่เหลือเป็นของสายพันธุ์ Penaeus อื่น ๆ (7%) เช่น กุ้งขาวจีน Penaeus Chinensis และสายพันธุ์ Metapenaeus อื่น ๆ (4%) ซึ่งเป็นกุ้งขาวถึง 4 สายพันธุ์ ทั้งนี้ สามารถจัดแบ่งกลุ่มของกุ้งขาสในสายพันธุ์พีเนียสออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ตามถิ่นที่อยู่อาศัยของซีกโลก คือกุ้งขาวตะวันตก (Western coast white shrimp) ได้แก่ กุ้งขาวลิโทพีเนียส แวนนาไม (Litopenaeus vannamei) กุ้งน้ำเงิน (Penaeus stylirostenis) และกุ้งขาวตะวันออก (Eastern coast white shrimp) ได้แก่ กุ้งแชบ๊วย Penaeus merguiensis กุ้งขาวอินเดีย Penaeus indicus และกุ้งขาวจีน Penaeus chinensis หรือ Penaeus orientalis

ลักษณะเฉพาะตัวของกุ้งขาว ลิโทพีเนียส แวนนาไม
กุ้งขาว ลิโทพีเนียส แวนนาไม มี 8 ปล้องตัว ลำตัวสีขาว ห้าอกใหญ่ การเคลื่อนไหวเร็ว ส่วนหัวมี 1 ปล้อง มีกรีอยู่ในระดับยาวประมาณ 0.8 เท่าของความยาวเปลือก หัวสันกรีสูง ปลายกรีแคบ ส่วนของกรีมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมีสีแดง อมน้ำตาล กรีด้านบนมี 8 ฟัน กรีด้านล่างมี 2 ฟัน ร่องบนกรีมองเห็นได้ชัด เปลือกหัวสีขาวอมชมพูถึงแดง ขาเดินมีสีขาวเป็นลักษณะที่ขาว่ายน้ำ 5 คู่ มีสีขาวข้างในที่หลายมีสีแดง ส่วนหางมี 1 ปล้อง ปลายหางมีสีแดงเข้ม แพนหางมี 4 ใบ และ 1 กรีหาง ขนาดตัวโตที่สมบูรณ์เต็มที่ของกุ้งสายพันธุ์นี้จะมีขนาดที่เล็กกว่ากุ้งกุลาดำ โดยความยาวจากกรีหัวถึงปลายกรีหาง 230 มิลลิเมตร (9 นิ้ว) ความยาวจากโคนหัวถึงปลายกรีหัว 65 มิลลิเมตร ความยาวจากโคนหัวถึงปลายกรีหาง 165 มิลลิเมตร เส้นรอบวงหัว 94 มิลลิเมตร เส้นรอบวงตัว 98 มิลลิเมตร แพนหางยาว 35 มิลลิเมตร ตาห่างกัน 20 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวเฉลี่ย 120 กรัม หากินทุกระดับความลึกของน้ำ ชอบว่ายล่องน้ำเก่ง ลอกคราบเร็วทุก ๆ สัปดาห์ ไม่หมกตัว ชอบน้ำกระด้างที่มีความกระด้างรวม 120 มิลลิกรัม ต่อลิตร มีค่าอัลคาไลน์ในช่วง 80-150 มิลลิกรัมต่อลิตร มีนิสัยที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะ ของน้ำในบ่อเพาะเลี้ยง ตื่นตกใจง่าย เป็นกุ้งที่เลี้ยงได้ทิ้งในระบบธรรมชาติและระบบกึ่งหนาแน่นโดยมีระดับน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร

ลักษณะพิเศษของกุ้งสายพันธุ์นี้คือ สามารถสร้างความคุ้นเคย หรือฟาร์มลักษณะนิสัยภายใต้ระบบการเพาะเลี้ยงได้เช่น สามารถทำการเพาะเลี้ยงได้ทั้งในน้ำที่มีระดับความเค็มที่ 5-35 ส่วนในพันส่วน (PPT) และระดับความเค็มต่ำ 0-5 ส่วนในพันส่วน แต่ระดับความเค็มที่เจริญเติบโตได้ดีคือ 10-22 ส่วนในพันส่วน อุณหภูมิของน้ำที่เจริญเติบโตได้ดี คือ 26-29 องศาเซลเซียส แต่สามารถทำการเพาะเลี้ยงได้ในช่วงอุณหภูมิ 25-35 องศาเซลเซียส ระดับออกซิเจนละลายน้ำ (D.O.) ควรมีค่า 4-9 มิลลิเมตรต่อลิตร และสำหรับค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ควรอยู่ระหว่าง 7.2-8.6 ซึ่งอาจจะทำการเพาะเลี้ยงได้ทั้งในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง (Coastal area) หรือบริเวณพื้นที่ในแผ่นดินที่ลึกเข้ามาซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่มีความเค็มต่ำ (Inland area) ก็ตาม อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 6-23 กรัม ในช่วง 2-5 เดือน อัตรารอดเฉลี่ย ประมาณ 30-65% ในการเพาะเลี้ยงทั่วไป และ 80-90% ในการเพาะเลี้ยงตามศูนย์วิจัยที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษจากข้อมูล ของ F.A.O. ปี ค.ศ. 2000 รายงานว่าผลผลิตกุ้งสายพันธุ์นี้ที่จับจากทะเลต่อปี มีค่าประมาณ 250 ตัน และผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของประเทศเอกวาดอร์ มีปริมาณ 72,000 ตัน และของประเทศสหรัฐอเมริกามีปริมาณ 28,000 ตัน โดยทั่วไปผลผลิตในการเพาะเลี้ยงมักจะไม่แน่นอน สำหรับในกลุ่มประเทศละตินอเมริกามีปริมาณในช่วง 500-1,000 กิโลกรัม ต่อ 6.25 ไร่ต่อรุ่น และในประเทศสหรัฐอเมริกามีปริมาณตั้งแต่ 500-3,000 กิโลกรัมต่อ 6.25 ไร่ต่อรุ่น ข้อมูลของบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจกุ้งสายพันธุ์นี้ของประเทศอิสราเอลที่ทำการเพาะเลี้ยงกุ้งสายพันธุ์นี้ รายงานว่าสามารถทำการเพาะเลี้ยงกุ้งชนิดนี้ในน้ำกร่อย (brackish water) ที่มีระดับความเค็มที่ 3 ส่วน ในพันส่วน ค่าอัลคาไลน์ 180 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความกระด้างรวม 130 มิลลิกรัมต่อลิตร รักษาระดับออกซิเจนละลายน้ำ (D.O.) ที่ 6-8 มิลลิกรัมต่อลิตร ระดับค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ที่ 7.5-8.0 มีระบบเติมอากาศที่ดี ระบบบำบัดน้ำเสียที่ดีสามารถเลี้ยงในระบบความหนาแน่นสูงที่ 156.25 ตัวต่อตารางเมตร

ในระยะเวลาการเลี้ยงที่ 90 วัน สามารถมีผลผลิตที่ 70 ตัวต่อกิโลกรัม ณ ค่าอัตราการแลกเนื้อ (FCR) ที่ 1.05 และข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งสายพันธุ์นี้ที่เป็นรายใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานว่าสามารถทำการเพาะเลี้ยงกุ้งชนิดนี้ในน้ำที่มีระดับความเค็มที่ 22 ส่วนในพันส่วน ค่าอัลคาไลน์ ในช่วง 170 - 190 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความกระด้างรวม 110-140 มิลลิกรัมต่อลิตร รักษาออกซิเจนละลายน้ำ (D.O.) ที่ 6-8 มิลลิกรัมต่อลิตร ระดับค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) ที่ 7.0-8.4 มีระบบเติมอากาศที่ดี และควบคุมโภชนะและสัดส่วนแร่ธาตุเป็นอย่างดี สามารถเลี้ยงได้ในระบบความหนาแน่นสูงที่ 200 ตัวต่อ ตารางเมตร ในระยะเวลาการเลี้ยงที่ 100 วัน สามารถมีผลผลิตที่ 40 ตัวต่อกิโลกรัม ณ ค่าอัตราการแลกเนื้อ (FCR) ที่ 1.00 นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับวงการกุ้งทั่วโลก

สำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งลิโทพีเนียส แวนนาไม ที่ระดับความเค็มที่ 10 ส่วนในพันส่วน (PPT)การคัดเลือกลูกกุ้ง ลักษณะของลูกกุ้งที่เหมาะสม ต้องเป็นลูกกุ้งที่ได้รับการปรับสภาพ เพื่อเลี้ยงในระดับความเค็มที่ 10 ส่วนในพันส่วน จากโรงเพาะฟักที่เป็นบ่อปูน ลูกกุ้งที่มีขนาด (อายุ) พี 15 - พี 16 จะมีลักษณะของพุ่มเหงือก (gill filament) พัฒนาครบสมบูรณ์ มีหนวดสีแดงทั่วทั้งเส้น สีแดงของหนวดต้องไม่แดงเป็นปล้อง ๆ ปลายกรีตรงไม่งอนขึ้นตาโต ลำตัวอ้วน และสั้น หน้าอกใหญ่ การเคลื่อนไหวเร็ว และมีชีวิตรอด ภายหลังที่ผ่านการทดสอบการลองน้ำจากบ่อทดสอบที่เตรียมไว้ มาก 80% ในเวลา 48 ชั่วโมง ลักษณะของลูกกุ้งที่ไม่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยง ลูกกุ้งมีลำตัวยาว ผอม ปลายกรีงอนขึ้น ตาเล็ก หนวดมีสีแดงเป็นปล้อง พบว่าเมื่อปล่อยกุ้งลงบ่อดินไปได้ประมาณ 1 เดือน หากนำมาทดสอบกับน้ำที่มีความเค็มต่ำกว่า 5 ส่วนในพันส่วน ลูกกุ้งจะทยอยตาย เนื่องจากความแข็งแรงต่ำ และสารอาหาร แร่ธาตุที่จำเป็นบกพร่อง หากเกษตรกรต้องการเลี้ยงต่อไปจะต้องเพิ่มปริมาณสารอาหาร แร่ธาตุ ที่จำเป็นให้พอเพียงกุ้งจึงจะรอด แต่ก็จะมีอัตรารอดที่ต่ำกว่า 30%

ผู้ติดตาม